คณะวารสารศาสตร์ฯ มธ. จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ ครบรอบ 70 ปี เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็น "Media Literacy"

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติเนื่องในวาระครบรอบ 70 ปี "glocalising media literacy in cultural contexts and creating communities for building connections" เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในหัวข้อ “Media Literacy and Education through Cultural Contexts” จากมุมมองบุคลากรในแวดวงสาขาต่างๆ โดยมี ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย ผศ.ดร.อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ผู้บริหาร คณาจารย์ แขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน ณ ห้อง JM402 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
 
ในช่วงเช้ามีการปาฐกถาในหัวข้อ "Media Literacy for the Communication Ecosystem: A Theory of Change for A Healthier Future" โดย Professor Julian McDougall ศาสตราจารย์ทางด้านสื่อและการศึกษา (Media and Education) ประธานหลักสูตรปริญญาเอกด้านการศึกษา the Professional Doctorate (Ed D) in Creative and Media Education และผู้อำนวยการ the Centre for Excellence in Media Practice (CEMP) มหาวิทยาลัยบอร์นมัธ สหราชอาณาจักร และ ในหัวข้อ "Media and Information Literacy Education in Hong Kong: The Collaborative Networks" โดย Professor Alice Y. L. Lee ศาสตราจารย์ในสาขาวิชา Interactive Media ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงแบ๊บติสต์ Professor Alice Y. L. Lee ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อและประสบการณ์เกี่ยวกับแนวคิดรู้เท่าทันสื่อ และเป็นบรรณาธิการร่วมหนังสือสองเล่มที่มีชื่อว่า International Handbook of Media Literacy Education และ Multidisciplinary Approaches to Media Literacy: Research and Practice และยังเป็นหนึ่งในบอร์ดบรรณาธิการบทความวิชาการ the Journal of Communication and Education (JCE) และ Journalism & Mass Communication Educator (JMCE) ต่อด้วยการเสวนาในประเด็น "Media Literacy and Education through cultural contexts" โดยได้รับเกียรติจาก Professor Julian McDougall, Bournemouth University, UK. Professor Alice Y. L. Lee, Hong Kong Baptist University, Hong Kong. Joseph Hincks, A media and Communications Specialist. Supinya Klangnarong, COFACT, Thailand. และ Assistant Professor Chawaporn Dhamanitayakul, Ph.D. Thammasat University, Thailand. โดยมี Associate Professor Nitida Sangsingkeo, Ph.D., Thammasat University เป็นผู้ดำเนินรายการ
 
ในช่วงบ่ายมีการปาฐกถาในหัวข้อ "Media Biotope: Designing People’s Environments for Mutual Learning about Digital Media" โดย Professor Shin Mizukoshi ศาสตราจารย์ทางด้านสื่อศึกษา คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยคันไซ ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน Professor Shin Mizukoshi ดำรงตำแหน่งประธาน Japan Association for Media, Journalism and Communication Studies (JAMS) และยังเป็นสมาชิกและบอร์ดบรรณาธิการบทความวิชาการ Designing Media Ecology และ Mobile Media & Communication และในหัวข้อ "Media and Information Literacy empowerment through Generative Artificial Intelligence" โดย Professor Divina Frau-Meigs ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Sorbonne nouvelle และได้รับการดำรงตำแหน่งเป็น the UNESCO Chair in “Knowledge and Future in the Era of Sustainable Digital Development: Mastering Information Cultures” Professor Divina Frau-Meigs ยังเป็นนักสังคมวิทยาด้านสื่อที่มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร, disinformation, media literacy (DG-Connect) และ digital literacy (DG-EAC). และในหัวข้อ "Transformative Civic Mindset: Media Literacy’s Capability for Social Change" โดย Professor Paul Mihailidis จาก School of Communication, Emerson College, บอสตัน สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์ที่สนใจงานทางด้านการสร้างการมีส่วนร่วมในภาคประชาสังคม civic media and community engagement ต่อด้วยการเสวนาในประเด็น "Technology AI enhances active citizens' capability for civic participatory" โดยได้รับเกียรติจาก Professor Shin Mizukoshi, Kansai University, Japan Professor Divina Frau-Meigs, The Universite Sorbonne Nouvelle, France Professor Paul Mihailidis, Emerson College, USA. Assistant Professor Ray Ting-Chun Wang, Thammasat University. และ Sakulsri Srisaracam, Ph.D., Thailand Chulalongkorn University and Thai Media Lab, Thailand. โดยมี Lecturer Thomtong Tongnok, Thammasat University เป็นผู้ดำเนินรายการ
 
ภาพบรรยากาศเพิ่มเติม : สัมมนาวิชาการนานาชาติ Media Literacy

คำสำคัญ