ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ครีเอทีฟรุ่นใหม่ศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์ฯ จากเวที B.A.D Young Cannes และพูดคุยกับตัวแทนประเทศไทยที่ได้ไปร่วมแข่งขัน Young Cannes Lions ณ ประเทศฝรั่งเศส
.
แนะนำตัวกันก่อน
โฟล์ค JC57 Art Director บริษัท TBWA
เต้ JC56 Art Director บริษัท Wunderman Thompson Bangkok
ปอนด์ JC55 Creative Group Head บริษัท GREYnJ United
มุก JC56 Copywriter บริษัท GREYnJ United
พิ้ง JC57 Copywriter บริษัท Hakuhodo (Bangkok)
.
B.A.D Young Cannes ในประเทศไทย คืออะไร ?
เต้ : เป็นการจัดงานของสมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอก (Bangkok Art Directors’ Association) เพื่อหาตัวแทนครีเอทีฟรุ่นใหม่ของประเทศไทยไปแข่งขันเวทีโฆษณาระดับประเทศ “Young Cannes Lions” ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยแต่ละประเทศจะส่งครีเอทีฟอายุต่ำกว่า 31 ปีเข้าแข่งขันแคมเปญพิเศษ
การประกวดที่ไทยเพื่อเฟ้นหาครีเอทีฟรุ่นใหม่จะจัดการแข่งขันให้เหมือนกับรอบแข่งจริงของ Cannes ที่ฝรั่งเศส รูปแบบการแข่งขันจะมีเวลาจำกัด โดยปีนี้มี 2 Category คือ หมวดดิจิทัล จะมีเวลาคิดงานแค่ 24 ชั่วโมง และหมวดฟิล์ม จะมีเวลา 48 ชั่วโมง คล้ายกับรอบการแข่งขันแบบ International เพื่อหาคนที่พร้อมจะไปแข่งในสนามจริง คาดว่าปีหน้าอาจจะเปิดการแข่งขันหลาย Category มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้ส่งตัวแทนครีเอทีฟไทยไปได้มากขึ้น
.
ช่วยเล่าถึงงานของตัวเองตอนแข่งขัน อาจเริ่มจาก Category ดิจิทัลก่อน
เต้ : โจทย์เวที Young Cannes Lions ส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์จากององค์กรไม่แสวงหากำไร ไม่ได้เป็นโจทย์ Product ขายของ ในรอบไทยโจทย์ที่ได้มาจากองค์กรที่มีชื่อว่า Big Tree Project ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรที่มีเป้าหมายในการช่วยดูแลรักษาจำนวนต้นไม้ในเมือง เพราะจำนวนต้นไม้ในเมืองของเราต่อประชากรคือน้อยมาก เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ เช่น โตเกียว สิงค์โปร ฮ่องกง ที่เขามีพื้นที่สีเขียวมากกว่า แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพหรือในเมืองของเรามันคือ หลาย ๆ ครั้งเราจะเห็นบางพื้นที่มีข่าวออกมาว่าตรงบริเวณนี้เกิดการตัดต้นไม้ เหี้ยนเตียน ตัดผิดวิธี ซึ่งมันเหมือนไม่ควรจะเกิดขึ้น เดิมทีต้นไม้ก็ไม่พอกับคนอยู่แล้ว พอมีปัญหาต้นไม้เหล่านี้ เขาก็เลยมอบโจทย์ตรงนี้ว่าจะทำอย่างไรให้คนเป็นหูเป็นตามากขึ้น เมื่อเวลาเห็นการตัดต้นไม้ที่อาจไม่รู้ว่าตัดถูกหรือตัดผิดวิธี ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหน่วยงานเอกชน หน่วยงานภาครัฐ ร่วมไปถึงโครงการก่อสร้างในเมืองต่าง ๆ จึงเป็นที่มาของโจทย์ที่อยากจะให้พวกเราคิดแคมเปญที่มีความเป็นดิจิทัล หลังจากที่ได้รับโจทย์แต่ละทีมก็จะมีเวลากัน 24 ชั่วโมง ในการทำแคมเปญ
.
อยากให้เล่าไอเดียของแคมแปญ
เต้ : โปรเจคที่เต้ทำ มีชื่อว่า The Watch out Running Route เนื่องจากมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนเมือง ซึ่งคนในเมืองส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้พบเจอต้นไม้ เราจึงมองไปที่กลุ่มที่เป็นนักวิ่งแบบ City Run มองว่ากลุ่มคนเหล่านี้ได้พบเจอต้นไม้อยู่แล้ว ก็เลยคิดถึงคนกลุ่มนี้ ไอเดียของเราคือการโคกับแอพพลิเคชั่นชื่อว่า Strava เป็นแอพพลิเคชั่นที่คนชอบวิ่งใช้กันเป็นส่วนใหญ่ มันสามารถครีเอท Route เส้นทางการวิ่งแบบใหม่ ๆ ได้ ก็เลยอยากที่ให้ทำแคมเปญของ Big Tree บนแอพลิเคชันนี้ สร้าง Route การวิ่งในแต่ละโซนที่ในระหว่างนั้นยังสามารถเป็นหูเป็นตาให้ต้นไม้ระแวกนั้น ถ้าเราพบเห็นการตัดต้นไม้ที่มันผิดก็สามารถช่วยกัน Capture และส่งได้ จาก Indsight คนที่วิ่งจะชอบแชร์ Result ของการวิ่ง เราก็เลยดึง insight ของคนตรงนี้มา
.
โฟร์ค : แคมเปญชื่อว่า Tree Mergency Pin หลัก ๆ คนยังไม่ค่อยมี Awareness เรื่อง ต้นไม้หรือว่า รู้จักองค์กรนี้ เราก็เลยคิดว่าทำอย่างไรให้มันเข้าถึงคนได้เยอะที่สุดและด้วยวิธีการที่ง่ายไม่ซับซ้อน ก็เลยอยากไปทำกับแอพ Google Map ที่ทุกคนมีอยู่แล้วบนมือถือ ซึ่งในทุกๆวันนี้เราก็ค่อนข้างใช้แอพพลิเคชั่นนี้ก็เกือบทุกวัน ปกติเวลาเราไปเจอที่ใหม่ที่ยังไม่มีใน Google Map เราสามารถ Generate เพิ่มสถานที่ได้ ไม่ว่าจะเป็น คาเฟ่ โรงแรม ต่าง ๆ เลยคิดว่าควรทำเป็น Pin ที่ทาง Big Tree ทำขึ้นมา ว่าอันนี้มัน Tree Mergency จุดนี้ที่พบเจอเป็นต้นไม้ที่กำลังอาจจะโดนตัดแบบผิดกฎหมายหรือตัดแบบผิดวิธี ก็สามารถปักหมุดมาบอกพิกัดชัดเจนได้เลย ซึ่งตัว Pin นี้ก็จะส่งเรื่องแจ้งไปยัง Big Tree ให้เขาประสานงานดำเนินการต่อ
.
พิ้ง : สำหรับพิงค์เริ่มต้นไอเดียนี้คือรู้สึกว่า มีคำถามหนึ่งที่ถามว่า “แล้วหลังจากแจ้งโครงการไปแล้วนั้น แล้วมันยังไงต่อ...” ทางลูกค้าก็ตอบกลับว่า ก็ประสานงานต่อ เลยมองเป็นว่าถ้าคนตัวใหญ่เขาไม่กระเพื่อมก็สูญเปล่าอยู่ดี ณ ตอนนั้นเป็นช่วงก่อนเลือกผู้ว่าและรู้สึกว่ามันเป็นกระแสมากๆ ก็เลยรู้สึกว่าอยากจะทำอะไรเกี่ยวกับผู้ว่า ซึ่งเห็นป้ายโฆษณาผู้ว่า เลยเกิดไอดีจุดพลุให้คนมาสนใจวิธีนี้ เลยคิดชื่อไอเดียว่า “Dear the next Bangkok Governor, Please trim me right to keep me alive” คือโปรดตัดฉันให้ดี ๆ เถอะเพื่อให้ฉันยังมีชีวิตต่อไป วิธีการจุดพลุก็คือจะเอาต้นไม้ที่มันเคยตัดเหี้ยนเตียนแล้วและเอาป้ายหาเสียงของทุกคนที่เป็นตัว Top มาแปะและมาใส่ข้อความนี้ เป็นวิธีจุดพลุทำให้มันเป็นกระแส
.
ปอนด์ : ประเภทฟีล์ม โจทย์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเคารพกฎจราจร ไอเดียชื่อ : Wait or Waste มีอินไซท์ประมาณว่าคนขับชอบไม่รอสัญญานไฟ เหมือนไฟเหลือง แค่รอแปปเดียวดีกว่าไปเสียเวลากับการเข้าโรงพยาบาล มันเป็นเรื่องที่เราต้องไปเสียเวลาเยอะมากขึ้นกับการที่เราไม่รอในช่วงเวลาสั้นๆ อันนี้คือ insight ของไอเดียอันนี้
.
แนะนำน้องๆ JC ที่อยากทำงาน Creative
โฟล์ค : การเสพ Reference เสพหนัง หรือเสพสื่ออื่น ๆ สามารถช่วยได้เยอะมากทั้งในแง่ของวิธีการเล่าเรื่องและในแง่ของวิธีการเล่าไอเดียด้วย ถ้าอยากจะทำงาน Creative ก็รีบเตรียมตัวในการเริ่มดูโฆษณาตั้งแต่วันนี้เลย
.
มุก : การดูโฆษณา การจับประเด็นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เรียนรู้และจดจำว่าเขานั้นทำอย่างไร เหมือนกับเวลาคิดหนังก็แค่รู้สึกต้องคิดว่า ให้คนเข้าใจง่ายมากที่สุดและก็ถ่ายทอดออกมาให้ได้ ซึ่งต้องใช้วิธีแบบครูพักลักจำและพยายามดูโฆษณาของต่างประเทศ โฆษณาต่างประเทศจะจบแบบง่ายๆ คมๆ และไม่ยืดยาว
.
พิ้ง : การเป็น Creative มันต้องตามเทรนด์ ต้องเสพโซเชียล ยิ่งโตขึ้นบางที Insight มันอาจจะไม่ใช่ Insight ของกลุ่มเป้าหมายเดิมอีกแล้ว เราต้องพยายามเข้าใจหรือปรับตัวตาม Generation ต่างๆ โซเชียลช่วยเราในทางหนึ่งให้เข้าใจในทุก Generation
.
เต้ : อย่ากลัวไปว่าเราไม่รู้ว่าการทำงานจริงมันจะเป็นอย่างไร เพราะว่า เราทุกคน ณ เวลานั้นก็ไม่ได้มีประสบการณ์กันมาก่อน คือ พอได้เริ่มการทำงานจริง ๆ แล้วมองย้อนกลับไปหลายๆ อย่างมันต้องเข้ามาเรียนรู้ของจริงตั้งแต่ต้น มันก็คือการเรียนรู้จากการทำงานจริง ซึ่งต้องปรับตัวอย่างมากและมันจะทำให้เราสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรงมากขึ้น