หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต (JC) (ภาคปกติ)

หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

 -----------------------------------------------------------------------

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย        :  หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ    :  Bachelor of  Arts Program in Journalism

 

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย        ชื่อเต็ม  วารสารศาสตรบัณฑิต
                  ชื่อย่อ   ว.บ.                         

ภาษาอังกฤษ    ชื่อเต็ม  Bachelor of Arts (Journalism) 
                   ชื่อย่อ   B.A. (Journalism)

3. รูปแบบและประเภทของหลักสูตร/ภาษาที่ใช้

รูปแบบของหลักสูตร: หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี
ประเภทของหลักสูตร: หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
ภาษาที่ใช้: จัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น: เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา: ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักข่าว นักเขียน นักวิจารณ์ นักสร้างสรรค์เนื้อหา
2. งานบรรณาธิการ การพิมพ์ และการออกแบบสิ่งพิมพ์
3. ผู้ผลิตรายการ ผู้ผลิตเนื้อหาสำหรับสื่อวิทยุ โทรทัศน์ดิจิทัล และสตรีมมิ่ง
4. เจ้าหน้าที่ด้านสื่อสารในองค์กรของรัฐและเอกชน
5. เจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อขนาดเล็กและผู้ประกอบการสังคมด้านงานสื่อและการสื่อสาร
6. นักโฆษณา และนักสื่อสารการตลาด
7. นักวิจัยโฆษณา
8. นักบริหารตราสินค้า นักออกแบบ และผลิตงานโฆษณา
9. นักวางแผนกิจกรรมพิเศษทางการตลาด
10. ช่างภาพ
11. ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ ประสานงานกองถ่ายภาพยนตร์
12. ผู้เขียนบทภาพยนตร์ รายการ ละคร
13. ผู้ออกแบบแสง กราฟฟิก ฉาก ลำดับภาพ ตกแต่งภาพ 

5. สถานที่จัดการเรียนการสอน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

6. แผนการรับนักศึกษา  ในแต่ละปีการศึกษาจะรับนักศึกษาปีละ  200  คน

7. การรับเข้าศึกษา    รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา 

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษาของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น ที่ดำเนินการตามการมอบหมายของมหาวิทยาลัยหรือตามข้อตกลง หรือ การคัดเลือกตามวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนดโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยและออกเป็นประกาศมหาวิทยาลัย

9. ปรัชญา วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้

9.1 ปรัชญาของหลักสูตร 

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางวิชาการและทักษะด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  ตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และจิตสำนึกต่อสาธารณะ  รวมทั้ง เป็นผู้นำ รอบรู้ และเท่าทันวิทยาการสมัยใหม่

 9.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมีลักษณะดังนี้
1) มีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและทักษะทางด้านวิชาชีพวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
2) มีความรอบรู้และสามารถนำไปประยุกต์และแก้ไขปัญหาในวิชาชีพด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ และประยุกต์ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคมทั้งในระดับชาติและระดับสากล
4) เป็นนักวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนที่มีจิตสำนึก ความรับผิดชอบ และจริยธรรมอย่างเคร่งครัด

 9.3 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

ด้านความรู้ (Knowledge)
K 1  ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการคิดเบื้องต้น และทฤษฎีสำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาวารสารศาสตร์
K 2  ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจบทบาทของการสื่อสารและปฏิบัติการของงานวารสารศาสตร์และและการสื่อสาร
K 3  ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในปรากฏการณ์ร่วมสมัยที่เกี่ยวกับการสื่อสาร
K 4  ผู้เรียนมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาวารสารศาสตร์ สื่อ และการสื่อสาร สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม

ด้านทักษะ (Skills)
S 1  ผู้เรียนมีทักษะสำคัญสำหรับการสื่อสารในระดับต่างๆ และสามารถสื่อสารและจัดการการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
S 2  ผู้เรียนมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ปรากฏการณ์การทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับวารสารศาสตร์ สื่อ และการสื่อสาร
S 3  ผู้เขียนมีทักษะการจัดการเนื้อหาและการนำเสนอผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ
S ผู้เรียนมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสาร

ด้านจริยธรรม (Ethics)
E 1  ผู้เรียนปฏิบัติตามจรรยาบรรณในวิชาชีพสื่อสารมวลชนและวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
E 2  ผู้เรียนแสดงออกซึ่งการเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
E 3  ผู้เรียนมีความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรม กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่กำหนดร่วมกัน

ด้านลักษณะบุคคล (Character)
C 1  ผู้เรียนแสดงออกซึ่งความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ
C 2  ผู้เรียนแสดงออกด้านภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถจัดการความขัดแย้งได้
C 3  ผู้เรียนแสดงออกซึ่งการเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับและเคารพในความแตกต่างหลากหลายของผู้อื่นทั้งในทางความคิดเห็น และการกระทำ 

10. ระบบการจัดการศึกษา โครงสร้างของหลักสูตร รายวิชา และหน่วยกิต

10.1 ระบบการจัดการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ
ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์  และอาจเปิดภาคฤดูร้อนได้โดยใช้เวลาการศึกษา ไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์
แต่ให้เพิ่มชั่วโมงการศึกษาในแต่ละรายวิชาให้เท่ากับภาคปกติ
ระยะเวลาการศึกษาสูงสุด ไม่เกิน 16 ภาคการศึกษาปกติ
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน   วัน – เวลาราชการปกติ    
ระบบการศึกษา แบบชั้นเรียน (Onsite)

 10.2 โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา และหน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรวม  ตลอดหลักสูตร   129   หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร              

นักศึกษาจะต้องจดทะเบียนศึกษารายวิชา รวมไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่างๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบ และข้อกำหนดของหลักสูตรดังนี้

1) วิชาศึกษาทั่วไป                                                 30  หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะ                                                      93  หน่วยกิต

2.1)  วิชาบังคับ                                             78   หน่วยกิต
      2.1.1  วิชาแกนคณะ               24   หน่วยกิต
      2.1.2  วิชาบังคับเลือก            42   หน่วยกิต         
             2.1.2.1 บังคับหมวด            15    หน่วยกิต
           2.1.2.2 บังคับกลุ่มวิชา      27    หน่วยกิต
     2.1.3 วิชาบังคับนอกคณะ         12    หน่วยกิต
2.2) วิชาโทหรือวิชาเลือก                                  15  หน่วยกิต

3) วิชาเลือกเสรี                                                   6  หน่วยกิต

 

รายละเอียดการรับเข้าศึกษา คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เพิ่มเติม
https://www.jc.tu.ac.th/th/announcement/435

 

การศึกษาสาขาวิชาวารสารศาสตร์ เป็นวิชาโท ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

นักศึกษานอกคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนที่ประสงค์จะศึกษาสาขาวิชาวารสารศาสตร์เป็นวิชาโท

ต้องศึกษารายวิชาเฉพาะด้านของสาขาวิชาวารสารศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่าง ๆ และตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

วิชาบังคับ จำนวน 6 หน่วยกิต โดยต้องสอบได้ไม่ต่ำกว่า C คือ

-วส.200 ความรู้เบื้องต้นทางการสื่อสาร

-วส.300 ทฤษฎีการสื่อสาร

และ วิชาอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต ไม่น้อยกว่า จำนวน 9 หน่วยกิต

โดยให้เลือกศึกษารายวิชาจากกลุ่มวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร ดังนี้

- กลุ่มวิชาบริหารการสื่อสาร

- กลุ่มวิชาวารสารศาสตร์

- กลุ่มวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล

- กลุ่มวิชาสื่อสารองค์กร

- กลุ่มวิชาโฆษณา

- กลุ่มวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย

อนึ่ง การศึกษารายวิชาที่ไม่อยู่ในกลุ่มวิชาแต่เป็นรายวิชาบังคับก่อนของวิชาที่ต้องการศึกษาในกลุ่มวิชานั้นๆ

เช่น วส.210/วส.230/วส.250/วส.260/วส.270

จะไม่สามารถนำหน่วยกิตมานับรวมเป็นวิชาโทได้ แต่สามารถนำไปเป็นวิชาเลือกเสรีหรือวิชาที่เรียนเกินได้

 

หลักสูตรทั้งหมด